ใช้สำหรับสร้างปุ่มกด หรือปุ่มตอบรับ ซึ่งคุณสามารถพบได้ในแอพพลิเคชันทั่วๆ ไป ซึ่งถือได้ว่า เป็นคอนโทรลที่มีการใช้งาน มากที่สุดอีกตัวหนึ่ง
รูปที่ 6-1 คอนโทรล CommandButton บนทูลบ๊อกซ์
โดยปกติแล้ว เมื่อคุณใช้งานคอนโทรล CommandButton ขนาดของตัวคอนโทรลที่ VB ตั้งมา จะเป็นขนาดที่เหมาะสมในการใช้งานอยู่แล้ว เมื่อคุณดับเบิลคลิ๊กที่ทูลบ๊อกซ์
รูปที่ 6-2 แสดงขนาดของคอนโทรล CommandButton แบบ Default ที่ปรากฎอยู่บนฟอร์ม
สำหรับการกำหนดข้อความที่จะแสดงบนปุ่ม ซึ่งถือได้ว่า เป็นคุณสมบัติที่เป็นหน้าที่หลักของคอนโทรล CommandButton เลยก็ว่าได้ คุณควรที่จะใช้ข้อความที่สื่อหน้าที่ของปุ่มนั้นๆ ด้วย มีรูปแบบการใช้งานดังนี้
Command1.Caption [= string]
ตัวแปร string หมายถึงข้อความที่คุณต้องการแสดงบนปุ่ม ควรจะเป็นคำเดียวสั้นๆ ที่มีความหมายตรงกับหน้าที่ของมัน เช่น
รูปที่ 6-3 แสดงคอนโทรล CommandButton ที่ตั้งคุณสมบัติ Caption เป็น OK
ถ้าคุณต้องการทำให้ปุ่มมี access key ซึ่งหมายถึงผู้ใช้สามารถกดปุ่ม ALT+ตัวอักษร เพื่อใช้งานปุ่มดังกล่าว ให้คุณใช้เครื่องหมาย & (ampersand) หน้าตัวอักษรที่คุณต้องการทำ access key ดังรูป เป็นการใส่เครื่องหมาย & หน้าตัว O ที่คุณสมบัติ caption
รูปที่ 6-4 แสดงปุ่ม OK ที่มีการทำ Access key
ถ้าคุณต้องการแสดงเครื่องหมาย & ให้ผู้ใช้เห็นบนตัวคอนโทรล คุณเพียงแต่ใส่เครื่องหมาย && ซ้ำกัน 2 ตัว ก็จะเป็นการแสดงเครื่องหมาย & ได้ และในการตั้งชื่อ (คุณสมบัติ Name) เพื่อใช้อ้างอิงในการเขียนโค้ด คุณควรใช้คำนำหน้าว่า cmd เช่น cmdOk เป็นต้น
สำหรับคุณสมบัติของคอนโทรล CommandButton อื่นๆ ที่น่าสนใจ มีดังนี้
Appearance
คุณสมบัตินี้มีหน้าที่สำหรับคืนค่า หรือกำหนดรูปแบบการปรากฎของคอนโทรล CommandButton บนฟอร์ม คุณสมบัตินี้ในขณะรัน คุณสามารถอ่านค่าได้อย่างเดียว มีรูปแบบการใช้งานดังนี้
Command1.Appearance=[value]
ตัวแปร value หมายถึง เลขจำนวนเต็ม Integer ซึ่งมีความหมายดังนี้
กำหนดค่า | รายละเอียด |
0 | Flat หมายถึง ลักษณะของคอนโทรลเป็นแบบ 2 มิติ ( 2D) |
1 | (Default) แสดงคอนโทรลในลักษณะ 3 มิติ (3D) |
รูปที่ 6-5 แสดงคอนโทรล CommandButton แบบ Flat และ 3D ที่ปรากฎอยู่บนฟอร์ม