หน้าเว็บ

วันพุธที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2556

วิชากฎหมายพาณิชย์

สัญญาให้
การให้ตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ แตกต่างจากการให้ตามที่ชาวบ้านเข้าใจกัน เนื่องจากชาวบ้านเข้าใจว่า เมื่อผู้ให้ออกปากรับคำว่าให้ทรัพย์สินสิ่งหนึ่งสิ่งใดแล้ว ถือว่า การให้เป็นอันสมบูรณ์ หากผู้ให้บิดพลิ้วภายหลังถือว่า ผู้ให้ผิดสัญญาและจะนำเรื่องไปฟ้องร้องต่อศาล
แต่ความจริงตามกฎหมายแล้ว ความเข้าใจดังกล่าวยังคลาดเคลื่อนแตกต่าง ความสมบูรณ์ของการให้ตามที่กฎหมายบัญญัติไว้มาก เพราะการให้ตามกฎหมายที่จะสมบูรณ์ใช้บังคับระหว่างผู้ให้กับผู้รับได้นั้นมีองค์ประกอบตามกฎหมายหลายประการ และมีเงื่อนไขต่าง ๆ อันจะถือว่าเป็นการให้ที่สมบูรณ์ใช้บังคับได้ตามกฎหมายนั้นอยู่
สัญญาให้คืออะไร
สัญญาให้ ปรากฏในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 เอกเทศสัญญา ลักษณะ 3 ตาม มาตรา 521-536 รวม 16 มาตรา สามารถแบ่งเป็นหัวข้อเพื่อทำความเข้าใจในเรื่อง การให้ได้ดังนี้
1.   ความสมบูรณ์ของสัญญาให้
สัญญาให้ย่อมสมบูรณ์ด้วยการส่งมอบทรัพย์สินที่ให้ มาตรา 523 ซึ่งการส่งมอบนั้นจะเป็นการที่ผู้ให้หยิบยื่นทรัพย์สินให้โดยตรง เช่น ให้แหวนก็ส่งมอบแหวนใส่ในมือผู้รับหรือกระทำโดยปริยายก็ใช้ได้ เช่น ผู้ให้กล่าวคำยกทรัพย์ให้โดยชัดเจน และในเวลาเดียวกันก็มอบลูกกุญแจสำหรับไขตู้หรือที่เก็บทรัพย์ได้ แต่หลักนี้มีข้อยกเว้นอยู่ 2 ประการคือ
(1) การให้สิทธิอันมีหนังสือเป็นตราสารสำคัญ มาตรา 524 บัญญัติว่า ถ้ามิได้ส่งมอบตราสารให้แก่ผู้รับ และมิได้มีหนังสือบอกกล่าวแก่ลูกหนี้แห่งสิทธินั้นด้วยแล้ว การให้ย่อมไม่สมบูรณ์ซึ่งทั้งนี้หมายถึงสิทธิไม่ใช่ให้ตัวทรัพย์สินโดยตรง สิทธิอันมีหนังสือตราสารสำคัญนั้น จะเป็นชนิดที่กฎหมายบังคับว่าต้องทำตราสารหรือไม่ก็ตาม เมื่อให้แก่กันจะต้องส่งมอบตราสารให้แก่ผู้รับ และผู้ให้มีหนังสือบอกกล่าวการให้ไปยังลูกหนี้ตามตราสารนั้นด้วย
(2) การให้อสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ (ชนิดพิเศษ) ซึ่งถ้าซื้อขายกันต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่มาตรา 456 วรรค 1 ก็ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ด้วยเช่นเดียวกันกับการทำสัญญาซื้อขายจึงจะสมบูรณ์ตามมาตรา 525 ผู้ให้จะเพียงแต่ส่งมอบทรัพย์สินที่ให้ หรือมอบหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สิน เช่น โฉนดให้แก่ผู้รับเท่านั้นยังไม่เป็นการเพียงพอ แต่การให้นี้เมื่อได้ทำถูกต้องตามแบบที่กฎหมายกำหนดไว้แล้ว แม้จะยังไม่ส่งมอบทรัพย์สินกรรมสิทธิ์ก็เปลี่ยนมือไปยังผู้รับแล้ว
ข้อสังเกต การอุทิศที่ดินให้เป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน ไม่ต้องจดทะเบียนต่อพนักงาน ก็มีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย
2. สัญญาว่าจะให้

3. การให้ทรัพย์สินซึ่งมีค่าภารติดพัน

4. การถอนคืนการให้

5. การให้ที่จะเป็นผลต่อเมื่อผู้ให้ตาย

ซึ่งจะได้อธิบายตามแนวดังกล่าวเป็นลำดับได้ แต่ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจในเรื่องความหมายของสัญญาให้เสียก่อนว่ามีความหมายและ
ขอบเขตเพียงใด
สัญญาให้ คือ สัญญาสองฝ่าย มีฝ่ายหนึ่งเป็นผู้ให้ และอีกฝ่ายหนึ่งเป็นผู้รับ และทั้งสองฝ่ายดังกล่าวต่างแสดงเจตนาให้มีการโอนและ การรับโอนทรัพย์อันเป็นวัตถุของสัญญาให้ด้วย
ด้วยเหตุนี้ สัญญาให้จึงมีหลักเกณฑ์ความสำคัญในเรื่องการตกลงของเจตนาที่ผู้ให้ยอมโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินแก่ผู้รับโดยมิได้รับค่าตอบแทน และผู้รับก็ยอมรับเอาทรัพย์สินที่ให้นั้น ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 521 ว่า อันว่าให้ นั้นคือ สัญญาซึ่งบุคคลหนึ่งเรียกว่าผู้ให้ โอนทรัพย์สินของตนโดยเสน่หาแก่บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้รับ และผู้รับยอมรับเอาทรัพย์สินนั้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น